วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาขั้นพื้นฐาน

การจัดการเรียนการสอน


การลงทะเบียน
1. ระดับประถม และระดับมัธยมศึกษาศึกษาตอนต้น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้ภาคเรียนละ 2 หมวด โดยลงทะเบียนในกลุ่มหมวดพื้นฐาน 1 หมวด และกลุ่มหมวดประสบการณ์ 1 หมวด โดยยกเว้นหมวดวิชาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียน
 2. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ภาคเรียนละ 2 หมวดวิชา  โดยลงทะเบียนในหมวดวิชาพื้นฐาน 1 หมวดและหมวดประสบการณ์ 1 หมวด
* ยกเว้นหมวดวิชาที่ได้ผลการเรียนเป็น “0 “ หรือหมวดวิชาที่เรียนเพิ่มเติมจะสามารถลงทะเบียนเรียนได้ 3 หมวดวิชา  ทั้งนี้ไม่นับรายหมวดวิชาที่เทียบโอนผลการเรียน
3. การลงทะเบียนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต นักศึกษา ต้องลงไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง  ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่นักศึกษาจะต้องได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  จึงจะได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  จึงจะได้รับการพิจารณาให้จบหลักสูตรในแต่ละระดับการเรียนได้
4. การลงทะเบียนรักษาสภาพ กรณีนักศึกษาไม่สามารถลงทะเบียนเรียน ในภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งได้จะต้องลงทะเบียนรักษาสภาพการเป็นนักศึกษา หากไม่สามารถลงทะเบียนรักษาได้ ต้องลงทะเบียนย้อนหลังทุกภาคเรียนที่ไม่ได้ลงทะเบียนทั้งนี้ต้องไม่เกิน 6 ภาคเรียนติดต่อกัน และต้องเป็นไปตามวัน เวลา วิธีการที่สถานศึกษากำหนด

ระยะเวลารับสมัคร
กศน.เขต (ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตเดิม)  จะประกาศเปิดรับสมัครและลงทะเบียนเรียนปีละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลา
                ภาคเรียนที่ 1            รับสมัครเดือน เมษายน
                                                เปิดภาคเรียน 16 พฤษภาคม
                ภาคเรียนที่ 2            รับสมัครเดือน ตุลาคม
                                                เปิดภาคเรียน 1 พฤศจิกายน
จัดกระบวนการเรียนการสอนหรือนักศึกษาต้องมาพบกลุ่ม  18 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง  นักศึกษาต้องมีเวลาพบกลุ่มไม่น้อยกว่า 80 % ขาดเรียนได้ไม่เกิน 4 ครั้ง จะทำให้หมดสิทธิ์สอบ
เวลาเรียนแบ่งการเรียนออกเป็น 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 20 สัปดาห์ โดยกำหนดให้ทุกระดับ ต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน หรือ 2 ปี ยกเว้น ผู้ที่มีเทียบโอนผลการเรียนสามารถจบก่อน 4 ภาคเรียน

หลักฐานการรับสมัคร
1. ใบสมัคร
2.  รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป หน้าตรงไม่สวมแว่นตาดำ ไม่สวมหมวก และสวมเสื้อสีขาวมีปก
3. สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมตัวจริง
4 . สำเนาหนังสือแสดงวุฒิ พร้อมฉบับจริง
5. สำเนาบัตรประชาชน  พร้อมฉบับจริง


สถานที่รับสมัคร
-  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขต (กศน.เขต) หรือศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตเดิม
-  ศูนย์การเรียนชุมชน

การวางแผนการจัดการเรียนรู้
                 1. ครูและนักศึกษาร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตร  มาตรฐานและสาระการเรียนรู้แล้วจัดแบ่งเนื้อหาสาระ เป็น 3 ส่วน ดังนี้
                                  1.1 เนื้อหาที่ง่ายนักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) ตลอดสัปดาห์ต้องมีเวลาสำหรับการเรียนรู้ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง (เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง) มีการจดบันทึก  เรียบเรียงความรู้นั้น  ไว้เป็นหลักฐานและนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวลาพบกลุ่ม  ผู้เรียนก็ช่วยกันเรียนและเติมเต็มความรู้แก่กัน
                                  1.2 เนื้อหาที่ยากปานกลาง  ครูและนักศึกษาต้องร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้  โดยครูเป็นผู้สอนในแต่ละสัปดาห์
                                   1.3 เนื้อหาที่ยากมาก  ครูและนักศึกษาร่วมกันจัดแผนการเรียนรู้ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาสอนแทน
                  2. นักศึกษาและครู ร่วมกันวางแผนการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนและนักศึกษาจะต้องจัดทำแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองทุกสัปดาห์ตลอดภาคเรียน
                  3. นักศึกษาและครูร่วมกันวางแผนการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมตลอดภาคเรียน

การจัดกระบวนการเรียนรู้
           1.  กิจกรรมพบกลุ่ม (พก.) นักศึกษาต้องมีเวลาพบกลุ่มอย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์
                  2.  การเรียนรู้ต่อเนื่อง (กรต.) นักศึกษาต้องมีเวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
อย่างน้อย 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือวันละ 3 ชั่วโมง
                  3.    การทำโครงงาน  นักศึกษาต้องเรียนรู้โดยการทำโครงงาน  หมวดวิชาละ 1
โครงงาน ในแต่ละภาคผู้เรียนจะต้องรวมกลุ่มกันประมาณ 5-7 คน เพื่อทำโครงงาน 1 โครงงาน ต่อ 1 หมวดวิชา  โดยร่วมกันคิดวิเคราะห์ว่าจะทำโครงงานใดในหมวดวิชานั้น  วางแผนและลงมือปฏิบัติ  นำเสนอความก้าวหน้าของการทำโครงงานในการพบกลุ่มเป็นระยะ ๆ  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดความคิดต่อยอดเพื่อนำไปพัฒนาโครงงานอย่างต่อเนื่องทุกกลุ่มจนสิ้นสุดภาคเรียน
                  4.   การจัดการเรียนรู้โดยการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) เป็น
กิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการพบกลุ่ม  และเป็นเงื่อนไขของการจบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนทุกระดับ    เป็นกิจกรรมกลุ่มผู้เรียนทำตามความสนใจความถนัด  โดยเน้นการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา / เรียนรู้ ไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงเพื่อพัฒนาตนเอง  ครอบครัว ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัยความรับผิดชอบ  การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  ซึ่งผู้เรียนจะทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคเรียนใด ภาคเรียนหนึ่งก็ได้  และสามารถทำร่วมกับผู้เรียนในระดับการศึกษาอื่น  โดยทำให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

การเทียบโอนการศึกษา
                ตามเจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ได้กำหนดรูปแบบ การศึกษาไว้ 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งประชาชนจะเลือกรูปแบบใดก็ได้ และสามารถนำผลการเรียน มาเทียบโอน
                การเทียบโอนผลการเรียน หมายถึง การนำผลการเรียนซึ่งเป็นความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการศึกษา ทั้ง 3 รูปแบบ มาประเมินเป็นส่วนหนึ่ง
ขอบข่ายการเทียบโอนผลการเรียน
1.  การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ และ การศึกษานอกระบบ
2.  การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษานอกระบบที่จัดเป็นหลักสูตรเฉพาะ
3.  การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรต่างประเทศ
4 . การเทียบโอนประสบการณ์ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ทหารกองประจำการ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น เป็นต้น
 5.  การเทียบโอนผลการเรียนจากการเรียนรู้ ในกิจกรรมพัฒนาอาชีพ

วิธีการเทียบโอนผลการเรียน
1.   การเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ และ การศึกษานอกระบบ
2.   การเทียบความรู้และประสบการณ์

การเตรียมตัวของผู้ต้องการเทียบโอนผลการเรียน
1. จัดเตรียมเอกสารทางการศึกษา เป็นใบ ป.05  รบ. 1 ต
2. จัดเตรียมเอกสารการเทียบโอน ใบ สด.8 , บัตรประจำตัวอาสาสมัครสาธารณสุข
3.  หลักฐานอื่นๆ

หลักฐานการขอจบหลักสูตร
                 การยื่นเรื่องขอจบหลักสูตร สามารถทำได้ 2 ภาคเรียน คือ
ภาคเรียนที่  1   ประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์
ภาคเรียนที่  2   ประมาณต้นเดือนกันยายน
เมื่อนักศึกษาได้รับการอนุมัติผ่านระดับการศึกษาและจบหลักสูตรแต่ละระดับแล้ว นักศึกษาจะต้องยื่นคำร้องขอจบการศึกษาพร้อมหลักฐาน ดังนี้
1.   ใบคำร้องขอจบหลักสูตร
2.   รูปถ่าย 4x5 เซนติเมตร จำนวน 2 รูป สวมเสื้อเชิ้ตสีขาว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นรูปประเภทโพลาลอยด์
3.   สำเนาทะเบียนบ้าน
4.   สำเนาหนังสือสำคัญ แสดงวุฒิเดิมก่อนเข้าเรียน
5.   สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ – เปลี่ยนสกุล ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี)